วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

หลักการเขียนข่าวที่เกี่ยวกับ เด็กและ เยาวชน


หลักการเขียนข่าวที่เกี่ยวกับ เด็กและ เยาวชน
        ใช้หลักการทั่วไปเช่นเดียวกับหลักเขียนข่าว หากแต่ ต้องมีความละเอียดอ่อนมากขึ้น เพราะบุคคลที่เป็นข่าว มีวุฒิภาวะที่น้อย  เราจึงต้องเรียนรู้เกี่ยวกับ สิทธิของเด็ก ซึ่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิเด็กและเยาวชน มีดังนี้
      ข้อ 1.  เด็กและเยาวชน พึงได้รับสิทธิเท่าเทียมกันโดยปราศจากการแบ่งแยกหรือกีดกัน ไม่ว่าโดยวิธีใด ๆในเรื่อง เชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง เผ่าพันธุ์แห่งชาติ หรือ สังคมทรัพย์สิน กำเนิดหรือสถานะอื่น ๆ ไม่ว่าจะของเด็กหรือของครอบครัวก็ตาม
ข้อ 2.  เด็กและเยาวชน พึงได้รับการพิทักษ์คุ้มครองเป็นพิเศษ อันจะช่วยให้เด็กสามารถพัฒนาทั้งทางกาย ทางสมอง และจิตใจเพื่อให้ร่วมอยู่ในสังคมได้อย่างปกติชน
ข้อ 3.  เด็กและเยาวชน มีสิทธิที่จะได้มีชื่อและมีสัญชาติแต่กำเนิด
ข้อ 4.  เด็กและเยาวชน พึงได้รับความมั่นคงทางสังคมและเติบโตอย่างสมบูรณ์ ดังนั้นทั้งแม่และเด็ก ควรได้รับการดูแลและคุ้มครองเป็นพิเศษ ทั้งเมื่ออยู่ในครรภ์และภายหลังเมื่อคลอดแล้ว โดยได้รับสิทธิในเรื่องที่อยู่อาศัย ได้รับอาหาร ได้รับการดูแลทางแพทย์ และโดยเฉพาะเด็ก ๆ ให้ได้รับการเล่นรื่นเริงเพลิดเพลินด้วย
ข้อ 5. เด็กและเยาวชน ที่พิการทั้งทางร่างกาย สมอง และจิตใจ มีสิทธิที่จะได้รับการรักษาพิเศษ หมายถึง การดูแลรักษาและการศึกษาที่เหมาะสมกับสภาวะของเด็กโดยเฉพาะ
ข้อ 6. เด็กและเยาวชน พึงได้รับความรักและความเข้าใจ อันจะช่วยพัฒนาบุคลิกของตน โดยเติบโตอยู่ในความรับผิดชอบของบิดามารดาของเด็กเอง และในทุกกรณี เด็กจะต้องอยู่ในบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความรัก ความอบอุ่น ปลอดภัย และไม่พลัดพรากจากพ่อแม่ ในกรณีที่เด็กไม่มีครอบครัวหรือมาจากครอบครัวที่ยากจนและมีลูกมากก็จะได้รับความช่วยเหลือเป็นพิเศษ จากรัฐหรือองค์การต่าง ๆ
ข้อ 7. เด็กและเยาวชน มีสิทธิที่จะได้รับการศึกษา ซึ่งครูควรจะจัดให้เปล่าอย่างน้อยในชั้นประถมศึกษา เพื่อเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมโดยทั่ว ๆ ไป และให้เด็กเติบโตเป็นสมาชิกผู้ยังประโยชน์ต่อสังคมคนหนึ่ง การศึกษานี้คลุมไปถึงการแนะแนวทางชีวิต ซึ่งมีบิดามารดาเป็นผู้รับผิดชอบก่อนบุคคลอื่น ๆ เด็กจะต้องมีโอกาสได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน จากการเล่นและรื่นเริงพร้อมกันไปด้วย
ข้อ 8. เด็กและเยาวชน จะเป็นบุคคลแรกที่ได้รับการคุ้มครองและสงเคราะห์ในทุกกรณี
ข้อ 9. เด็กและเยาวชน พึงได้รับการปกป้องให้พ้นจากการถูกทอดทิ้ง จากความโหดร้ายทารุณ และการถูกข่มเหง รังแกทุกชนิด เด็กจะต้องไม่กลายเป็นสินค้า ไม่ว่าในรูปใด จะต้องไม่มีการรับเด็กเข้าทำงานก่อนวัยอันสมควร ไม่มีการกระทำใด ๆ อันจะมีชักจูงหรืออนุญาตเด็กให้จำต้องรับจ้างทำงาน ซึ่งอาจจะเป็นผลร้ายต่อสุขภาพของเด็ก หรือเป็นเหตุให้การพัฒนาทางกายทางสมองและทางจิตใจของเด็กต้องเสื่อมลง
ข้อ 10. เด็กและเยาวชน พึงได้รับการคุ้มครองให้พ้นจากการกระทำที่แสดงถึงการกีดกัน แบ่งแยก ไม่ว่าทางเชื้อชาติ ศาสนาหรือรูปใด ๆ เด็กจะต้องได้รับการเลี้ยงดูให้เติบโตขึ้นมา "ในภาวะแห่งจิตที่เต็มไปด้วยความเข้าอกเข้าใจ และมีการหย่อนหนักหย่อนเบามิตรภาพระหว่างชนชาติต่าง ๆ สันติภาพ และภาพสากล และด้วยการสำนึกเต็มที่ว่าพละกำลังและความสารถพิเศษในตัวเขา ควรจะอุทิศเพื่อรับใช้เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน"
ในการทำข่าวที่มีเด็ก และเยาวชนเข้ามาเกี่ยวข้องนั้น ควรให้ความสำคัญกับขั้นตอนในการทำข่าว อย่างละเอียดอ่อน ดังนี้
1.    ขั้นตอนการสัมภาษณ์ ไม่ควรใช้คำถามที่เข้าใจยาก เพราะว่าผู้ถูกสัมภาษณ์ ยังมีวุฒิภาวะน้อย หากกรณี ที่เด็ก ถูกกระทำชำเรา หรือถูกทำร้าย และอยู่ในสภาพจิตใจที่ย่ำแย่ ไม่ควรตั้ง คำถามที่ทำร้ายจิตใจเด็ก เช่น รู้สึกยังไงกับเหตุการณ์ที่เกิด ถ้าย้อนเวลากลับไปได้จะทำอย่างไรกับเหตุการณ์นี้ ฯลฯ ควรตั้งคำถามปลายเปิดก่อน เพื่อให้เด็กได้มีส่วนร่วมและพยายามเล่าในสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง  อย่าซักถามด้วยคำถามปลายปิด เพราะจะทำให้เด็กรู้สึกกดดัน
2.    ต้องมีการปกปิด ซ่อน ชื่อ-สกุล หรือใช้นามแฝงให้ (ในกรณี ที่เป็นข่าวร้ายแรง) แต่ถ้าหากเป็นกรณี ที่เกี่ยวกับข่าว สร้างสรรค์  คุณงามความดี สามารถลงชื่อได้ เพื่อเป็นการยกย่อง ให้เกียรติแก่ตัวเด็กเอง
3.    ในการสัมภาษณ์ เด็ก ไม่ควรมีสิ่งล่อ เช่น ของเล่น ขนม ให้เด็กเพื่อจะได้สัมภาษณ์ เพราะจะทำให้เนื้อหาข่าวของเด็ก ถูกเติมใส่สี และอาจทำให้ข่าวบิดเบือน
4.    การถ่ายรูปเพื่องานข่าว สามารถถ่ายได้ แต่หากเด็กไม่ต้องการเปิดเผยตัวตน ควรมีการปกปิดรูปภาพ ด้วยการเซนเซอร์  ในกรณีที่มีสถานศึกษา เข้ามาเกี่ยวข้อง และเป็นเรื่องร้ายแรง ควรถ่ายรูปในแบบที่ ไม่สามารถให้ผู้อ่านตีความว่าเป็นที่ใดได้
ทฤษฎีการกำหนดเรื่อง(Agenda-setting)
ในขณะที่ทฤษฎีอื่นมองที่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติหรือพฤติกรรมของผู้รับสาร แต่ทฤษฎีนี้มองที่การเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ โดยประยุกต์มาจากแนวคิดเรื่องผู้เฝ้าประตู ซึ่งเป็นบทบาทของนักสื่อสารมวลชนในการเลือกข่าวว่า จะให้ข่าวใดปรากฏสู่สายตาประชาชน และจะให้ข่าวนั้นมีความสำคัญมากหรือน้อย จะเห็นว่าข่าวที่ลงต่อเนื่องกันหลายวัน ย่อมทำให้ประชาชนคิดว่ามีความสำคัญ 
       เป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับการ เสนอข่าวเด็กและเยาวชน หากเป็นข่าวที่ดี ควรมีการกำหนดวาระข่าวสาร เพื่อ ส่งเสริมเด็กให้มาก แต่ ถ้าหากเป็นข่าว ที่เด็กถูกทำร้าย หรือ ถูกกระทำอนาจาร ไม่ควรนำเสนอบ่อยๆ อาจจะจัดการเสนอเพียงแค่ เล็กๆน้อย และไม่ควรให้ความสำคัญมากกว่าข่าวอื่นๆ เพราะจะเหมือนเป็นการตอกย้ำสภาพจิตใจของเด็กไปในตัว
จรรยาบรรณของสื่อมวลชน
          จรรยาบรรณของสื่อมวลชน หมายถึง หลักคุณธรรมของผู้ประกอบอาชีพนักสื่อสารมวลชน มารวมตัวกันเป็นสมาคมวิชาชีพ สร้างขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติแก่ผู้ประกอบอาชีพนักสื่อสารมวลชนให้มีความรับผิดชอบ
ความสำคัญของจรรยาบรรณสื่อสารมวลชน
1.               เป็นแนวทางในการควบคุมความประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนเพื่อให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม
2.               ทำให้นักสื่อสารมวลชนและวิชาชีพสื่อสารมวลชนได้รับการยินยอมยกย่อง ให้เกียรติและศรัทธาจากประชาชน
3.               ทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพการสื่อสารมวลชนเกิดความภูมิใจในอาชีพตน
4.               เป็นเกราะป้องกันเสรีภาพของสื่อมวลชน
5.               เป็นหลักให้ประชาชนเกิดความมั่นใจในความประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพนักสื่อสารมวลชน
6.               ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนและสังคม
7.               เป็นปัจจัยพื้นฐานสำหรับการพัฒนา
ลักษณะความรับผิดชอบของสื่อมวลชน
1. ความเป็นอิสระ(Freedom)ได้แก่ ความเป็นอิสระที่จะรู้(Freedom to know)ความเป็นอิสระที่จะบอก(Freedom to tell) และความเป็นอิสระในการค้นหาความจริง(Freedom to find out) แม้ว่าสื่อมวลชนจะมีอิสระในด้านต่างๆข้างต้น แต่ก็จำเป็นต้องใช้ความเป็นอิสระเหล่านั้นอย่างมีความรับผิดชอบ และในขณะเดียวกัน ก็ต้องปกป้องความเป็นอิสระของตนจากการแทรกแซงของสิ่งต่างๆอันได้แก่ การควบคุมของรัฐบาลระบบธุรกิจขนาดใหญ่ เจ้าของสื่อมวลชนผู้โฆษณา (เนื่องจากรายได้ส่วนใหญ่ของสื่อมวลชนจะมาจากการโฆษณา)รางวัลหรืออามิสสินจ้าง หรือการถูกใช้เป็นเครื่องมือทางธุรกิจ
2. ต้องไม่เสนอข่าวในลักษณะที่อาจทำให้เสียความยุติธรรมในการพิจารณาคดี(Fair Trial)
3. ต้องไม่เสนอในเรื่องที่เป็นความรับของทางราชการ(Government Secrecy)
4. ต้องเสนอข่าวด้วยความถูกต้อง (Accuracy)หากมีความผิดพลาดในการเสนอข่าวสื่อมวลชนจะต้องแก้ไขข่าวนั้นในทันที เช่น ถ้าเสนอข่าวผิดหนึ่งประโยค ก็ต้องแก้ไขประโยคนั้นในหน้าเดียวกันในตำแหน่งเดียวกันที่ผิดพลาด
5. ต้องเสนอข่าวอย่างตรงไปตรงมา (Objective)โดยแยกแยะระหว่างเนื้อข่าวและความคิดเห็น
6. ต้องเสนอข่าวโดยเสมอภาคกัน(Balance) โดยเสนอข่าวจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวที่เกิดขึ้น
7. ต้องไม่แทรกแซงสิทธิส่วนบุคคล(Privacy)
8. ต้องอ้างถึงแหล่งที่มาของข่าวได้(Using Source Responsibly)เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ แต่ในบางกรณีที่ผู้ให้ข่าวอาจไม่ต้องการเปิดเผยตัวเพราะกลัวว่าอาจได้รับอันตราย ก็เป็นความรับผิดชอบของสื่อมวลชนที่จะปิดข่าวไว้
9.ต้องเสนอรายการบันเทิงในรูปแบบที่หลากหลาย(Pluralism in Programming)

หลักการเขียนข่าว
          การเขียนข่าวเป็นการเขียนที่มีรูปแบบเฉพาะ สิ่งสำคัญที่จำเป็นต้องเรียนรู้ก่อนการเขียนข่าว คือ คุณค่าของข่าว คุณภาพของข่าว โครงสร้างการเขียนข่าว แบะวิธีการเขียนข่าว
1. คุณค่าของข่าว ( News Value )
1. ความสด รวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์   2. ความใกล้ชิด  3.ความเด่น หรือ ความสำคัญ  4.ผลกระทบ  5.ความขัดแย้ง
6. ความแปลกใหม่  7.ความมีเงื่อนงำ  8. ความสนใจของมนุษย์  9. เพศ  10. ความขบขัน  11. ความเปลี่ยนแปลง
12. ความก้าวหน้า
2. คุณภาพของข่าว ( Qualities of News )
1. ถูกต้อง รวดเร็ว  2. ความสมดุล 3. ความเป็นกลาง  4. กะทัดรัด 5. ความชัดเจน 6.เหตุการณ์ สดใหม่ 7. ความเที่ยงตรง
3. โครงสร้างของข่าว
ข่าวประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน ซึ่งแต่ละส่วนมีลักษณะการใช้ภาษาดังนี้คือ
1.  พาดหัวข่าว (Headline )  คือการนำประเด็นสำคัญของข่าวมาพาดหัวหนังสือพิมพ์ เพื่อให้ผู้อ่านทราบว่าวันนี้เกิดอะไรขึ้นบ้าง โดยใช้ตัวอักษรตัวใหญ่กว่าธรรมดา ใช้เพียงข้อความสั้นๆ แต่สามารถเสนอสาระสำคัญให้แก่ผู้อ่านได้พิจารณาเลือกอ่านรายละเอียดข่าวที่ตนสนใจได้ ทั้งยังสามารถบอกภาพลักษณ์ของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นๆ ด้วย การพาดหัวข่าวจะต้องใช้ทักษะการเลือกถ้อยคำภาษาอย่างมาก เพราะต้องดึงดูดความสนใจและกระทบต่อความรู้สึกของผู้อ่านไปพร้อมๆ กับการใช้ถ้อยคำที่สั้นที่สุดให้สามารถอธิบายเนื้อความข่าวได้มากที่สุด โดยอาจใช้คำที่รุนแรง คำแสลง ภาษาเฉพาะกลุ่ม ใช้สำนวน หรือเครื่องหมายวรรคตอนต่างๆ  เช่น “ปรับครม.เละ ‘กร’ ลุยสุวัจน์”,  “ตื่นทารกประหลาด 3 หัว 2 ขา” เป็นต้น
2.  ความนำข่าว (Leads) หรือวรรคนำ คือสาระสำคัญของเนื้อหาข่าวที่เขียนโดยย่อเพื่อสร้างความเข้าใจทั่วๆ ไปแก่ผู้อ่าน แบ่งเป็น
ความนำข่าวแบบสรุป” จะต้องตอบคำถาม 5W 1H ได้ การเขียนความนำข่าวที่มีเนื้อหาเดียวจะใช้วิธีการนี้ แต่ในกรณีข่าวนั้นๆ มีหลายเนื้อหา จะใช้วิธีสรุปเรื่องราวของทุกเนื้อหาแล้วนำมาเรียงร้อยเข้าด้วยกัน การเขียนความนำแบบสรุปจะใช้ภาษากระชับรัดกุม ตรงไปตรงมา ใช้คำสั้นแต่มีเนื้อความมาก เข้าใจง่าย
ภาษาที่ใช้ในการเขียนความนำข่าวต้องเขียนด้วยข้อความที่กระชับรัดกุม เลือกสรรคำ โดยเฉพาะคำกริยา วิเศษณ์ ที่ทำให้เห็นภาพ แฝงอารมณ์ ความรู้สึก เลือกใช้คำสั้นๆ แต่กินความมาก คล้ายกับพาดหัวข่าว
3.  ส่วนเชื่อมความนำข่าวกับเนื้อเรื่อง (Neck) เป็นข้อความสั้นๆ ที่เชื่อมระหว่างความนำข่าวกับเนื้อเรื่อง เพื่อให้การเขียนข่าวนั้นเชื่อมโยงอย่างต่อเนื่อง อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้
4. เนื้อเรื่องหรือเนื้อข่าว (Body)  คือส่วนที่อธิบายหรือขยายรายละเอียดของส่วนประกอบอื่นๆ ข้างต้น เพื่อให้ผู้อ่านทราบเรื่องราวและเข้าใจลำดับความสำคัญของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน
4.1  การเขียนเนื้อเรื่องข่าวที่เสนอข้อเท็จจริง จะใช้ถ้อยคำกระชับรัดกุม ตรงไปตรงมา เสนอเฉพาะข้อเท็จจริงโดยใช้วิธีบรรยายโวหาร ระดับภาษาตั้งแต่กึ่งทางการถึงระดับทางการ
4.2  การเขียนเนื้อเรื่องข่าวที่แสดงความเคลื่อนไหว  ผู้เขียนต้องสร้างภาพโดยใช้ถ้อยคำพรรณนาให้เห็นภาพเหตุการณ์อย่างชัดเจน เน้นที่คำกริยา เพิ่มคำแสดงอารมณ์ ความรู้สึก ความคิดเห็นของผู้เขียน เข้าไปในรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นด้วย ข้อควรระวังคือ ผู้เขียนไม่ควรสร้างภาพเกินความจริง
4.3  การเขียนเนื้อเรื่องข่าวที่เป็นคำพูด ข้อความส่วนหนึ่งจะเป็นถ้อยคำที่เป็นความคิดเห็นของผู้ให้สัมภาษณ์หรือแหล่งข่าว ผู้เขียนจะใช้ถ้อยคำกระชับรัดกุม ภาษาง่ายๆ สื่อความหมายตรงไปตรงมา อาจจะมีถ้อยคำแสดงความรู้สึก อารมณ์ของผู้ให้สัมภาษณ์ปรากฏอยู่ด้วย

อ้างอิง
-มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ทฤษฎีการสื่อสาร, ผศ.ศุภรัศมิ์ ฐิติกุลเจริญ, 2540 ... เอกสารการสอนชุดวิชาหลักการและทฤษฎีการสื่อสาร ม.สุโขทัยธรรมาธิราช. หนังสือนอกเวลา ...
elearning.spu.ac.th/content/cmm131/Course%20Outline.html - 23k
-เอกสารอบรมพิราบน้อย เกี่ยวกับสิทธิเด็กและเยาวชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น